Sunday, 28 February 2010

เปรียบเทียบ world และ world Plus และ world Pro

เปรียบเทียบ world และ world Plus และ world Pro

Which version of world is right for you?


world world Plus world Pro

Download Buy Buy/7-Day Trial
License Free version for home/personal use Enhanced version for home/personal use Professional version for commercial use
Price Free $20* $400*
Imagery Database Primary Primary Primary
Performance
Enhanced Fastest
Fly to anywhere on the planet, or explore space
Search for schools, parks, restaurants, and hotels
Get driving directions
Explore Featured Content
Tilt and rotate the view in 3D
Printing images 1000 pixels 1400 pixels 4800 pixels
Saving Images 1000 pixels 1000 pixels 4800 pixels
Drawing tools
GPS data import **
Real-time GPS tracking
Spreadsheet data import
100 points 2500 points
Local Business Ads Optional Optional
Support Website only Website, email
(login issues only)
Website, email, chat
Measure area

Movie Maker

GIS data importing

GDT traffic counts data***

$200

* subscription-based annual fee
** verified support for Magellan and Garmin devices only
*** optional add-ons


เปรียบเทียบ world และ world Plus และ world Pro

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Saturday, 27 February 2010

การนำ เข้าข้อมูล ในระบบ สารสนเทศ ภูมิศาสตร์

การนำ เข้าข้อมูล ในระบบ สารสนเทศ ภูมิศาสตร์

world

การนำเข้าข้อมูล

หมายถึง การกำหนดรหัสให้แก่ข้อมูล แล้วบันทึกข้อมูลเหล่านั้นลงในฐานข้อมูล ทั้งนี้ในการกำหนดรหัสข้อมูล (ตัวเลข) ที่ปราศจากที่ผิด (errors) เป็นงานสำคัญและซับซ้อนที่สุด รวมทั้งกระบวนการนำเข้าข้อมูลในแต่ละขั้นตอนจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าฐานข้อมูลที่ได้นั้นมีจุดที่ผิดพลาดน้อยที่สุด

กระบวนการนำเข้าข้อมูลในระบบ GIS สามารถแบ่งได้ดังนี้

1) การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data)
2) การนำเข้าข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ (Non-Spatial data) เป็นข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute)
3) การเชื่อมโยงข้อมูลทางพื้นที่ (Spatial data) กับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute)

1) การนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่ (Spatial data)
วิธีการนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่ใน GIS มิได้มีเพียงวิธีเดียว แต่มีหลายวิธีที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจใช้เพียงวิธีเดียวหรือใช้หลายวิธีร่วมกันก็ได้ การเลือกวิธีการนำเข้าข้อมูลนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของแต่ละหน่วยงาน ลักษณะการใช้งาน งบประมาณที่มีอยู่ และชนิดของข้อมูลที่จะนำเข้า เช่น
1. การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบเวกเตอร์ด้วยมือ

2. การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบกริดด้วยมือ

3. การนำเข้าด้วยการดิจิไทซ์

4. การกราดตรวจอัตโนมัติ

1.1 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบเวกเตอร์ด้วยมือ
ข้อมูลพื้นฐานของระบบนี้คือ จุด เส้น และพื้นที่ ค่าพิกัดของข้อมูลที่ได้จากกริดอ้างอิงที่มีอยู่ในแผนที่ หรือได้จากการอ้างอิงจากกริดที่นำมาซ้อนบนแผนที่ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะพิมพ์เข้าเครื่องเพื่อเก็บในแฟ้มข้อมูลธรรมดา หรือนำเข้าสู่โปรแกรมก็ได้

1.2 การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบกริดด้วยมือ
สำหรับระบบกริดนั้น ทั้งจุด เส้น และพื้นที่ ล้วนแสดงด้วยช่องกริด เป็นวิธีการนำข้อมูลที่ง่ายที่สุด โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
1.2.1 เลือกขนาดของช่องกริด (แรสเตอร์) แล้ววางแผ่นกริดโปร่งใสตามขนาดที่เลือกซ้อนบนแผนที่
1.2.2 กรอกค่าลักษณะประจำของแผนที่หนึ่งค่าต่อช่องกริดหนึ่งช่อง
1.2.3 พิมพ์เข้าแฟ้มข้อความในคอมพิวเตอร์
1.3 การนำเข้าด้วยการดิจิไทซ์ (Digitizing)


ดิจิไทเซอร์ หรือ แท็ปเลต (Tablet) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่มักจะใช้ในงาน CAD/CAM มีลักษณะเป็น แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับจอภาพ และมีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง คล้ายเมาส์วางบนแผ่นสี่เหลี่ยม เรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ เมื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปบนกระดาน จะมีการส่งสัญญาณจาก ตะแกรงใต้แผ่นกระดาน ไปให้คอมพิวเตอร์

1.4 การกราดตรวจอัติโนมัติ
เครื่องกราดตรวจอัติโนมัติ เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้สำหรับนำเข้าข้อมูล ซึ่งมีราคาแพง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กราดตรวจแผนที่ในแบบแรสเตอร์ และกลุ่มที่สามารถกราดเส้นโดยไล่ตามเส้นโดยตรง
1.4.1 เครื่องกราดตรวจแบบแรสเตอร์
1.4.2 เครื่องกราดตรวจเวกเตอร์
1.4.3 เครื่องกราดตรวจแผนที่ชนิดอื่น ๆ
1.4.4 เครื่องอ่านพิกัดแบบวีดีโอ
1.4.5 เครื่องวาดสเตริโอเชิงวิเคราะห์

1.5 ข้อมูลทางพื้นที่ที่อยู่ในรูปแบบแรสเตอร์เรียบร้อยแล้ว
เครื่องรับรู้ของดาวเทียมทุกชนิดและอุปกรณ์รับแสงหลายคลื่น (multispectral) ในเครื่องบินซึ่งใช้ในการสำรวจพื้นที่ระดับต่ำ ใช้เครื่องกราดตรวจในการสร้างภาพอิเล็คทรอนิกส์ของภูมิประเทศ ภาพอิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินทางคลื่นวิทยุ หรือเก็บในสื่อแม่เหล็กก่อนที่จะแปลงเป็นภาพที่แลเห็นได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่กราดตรวจจากเครื่องรับรู้บนดาวเทียมและเครื่องบินอาจอยู่ในรูปจุดภาพ แต่รูปแบบอาจไม่ตรงกับรูปแบบที่ใช้ใน GIS จึงจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนหลายชนิดก่อนการประมวลผล เพื่อปรับความคมชัดและรูปร่างของจุดภาพและเส้นโครงแผนที่เพื่อให้แน่ใจว่าจะเข้ากันได้ในทางโทโพโลยีกับฐานข้อมูลใน GIS

1.6 แหล่งที่มาอื่น ๆ ของข้อมูลทางพื้นที่เชิงตัวเลข
1. ข้อมูลที่ได้จากการประมาณค่า (interpolated data) โดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการประมาณค่าของสิ่งที่วัดได้เป็นตัวเลข ณ จุดตำแหน่งที่ไม่มีการไปเก็บข้อมูลโดยใช้ค่าสังเกตที่มีอยู่ที่จุดตำแหน่งอื่น ๆ
2. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลสำมะโน รายการหมายเลขโทรศัพท์ เป็นข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ภายในระบบ GIS แต่ไม่ได้อยู่ในรูปรหัสทางพื้นที่ แม้ว่าจะมีลักษณะทางพื้นที่ซึ่งแฝงอยู่อย่างเห็นได้ชัด

2) การนำเข้าข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ (Non-Spatial data)
หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) ข้อมูลที่ไม่อยู่ในเชิงพื้นที่ หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) ได้แก่ คุณสมบัติของเอนติตี้ทางพื้นที่ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการใน GIS เช่น การดิจิไทซ์เส้นถนน เส้นถนนแต่ละประเภทอยู่ในรูปข้อมูลทางพื้นที่ของ GIS ซึ่งแสดงด้วยสี สัญลักษณ์ หรือตำแหน่งบนแผนที่ ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของถนน อาจรวมในสัญลักษณ์แผนที่ซึ่งมีอยู่ตามปกติอยู่แล้ว เมื่อผู้ใช้งานต้องการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความกว้างของถนน หรือความหนาของชั้นซีเมนต์ ชนิดของซีเมนต์ วิธีการสร้าง วันที่สร้าง ตำแหน่งของสี่แยกหรือไฟแดง เป็นต้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มีเอนติตี้ทางพื้นที่ร่วมกัน เราจึงสามารถเก็บแยกและประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ต่างหากได้ โดยไม่รวมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ หากเป็นข้อมูลประเภทขอบเขตการปกครองอาจจะใส่ข้อมูลเรื่องประชากรชาย หญิงและรายได้เฉลี่ยเป็นต้น

3) การเชื่อมข้อมูลพื้นที่กับข้อมูลที่ไม่อิงพื้นที่
เราสามารถกำหนดเครื่องหมายประจำตัวให้แก่เอนติตี้กราฟิกโดยตรง ในการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (polygon) จะต้องสร้างรูปหลายเหลี่ยมขึ้นก่อน จากนั้นจึงจะให้เครื่องหมายประจำตัวแก่รูปหลายเหลี่ยมเหล่านั้นโดยการดิจิไทซ์ข้อมูลเข้า
เมื่อนำเข้าข้อมูลทางพื้นที่และให้เครื่องหมายประจำเรียบร้อยแล้ว ควรมีการทวนสอบคุณภาพของข้อมูลด้วย โดยเฉพาะรหัสที่จะกำหนดเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลเชิงพื้นที่กับข้อมูลลักษณะในการเชื่อมต่อข้อมูลนั้นสามารถสร้างตารางคำอธิบายเสริมขึ้นมาได้เป็นจำนวนมาก ในส่วนนี้จะต้องศึกษาทฤษฎีของการออกแบบและสร้างฐานข้อมูล (Database Design) เพื่อให้การสร้างฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการเชื่อมต่อข้อมูลเชิงพื้นที่เข้ากับข้อมูลเชิงคุณลักษณะนั้นจะสามารถทำได้โดยการเชื่อมต่อเพียงชั่วคราว หรือการทำให้เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรได้ โดยกระบวนการทาง GIS ซึ่งจะต้องคำนึงถึงขนาดของข้อมูลที่จะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นไปด้วยฐานข้อมูลใหม่ในตารางใหม่ที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้ในการสอบถามค้นหา หรือวิเคราะห์ในขั้นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากฐานข้อมูลนั้นมีความถูกต้องจากการเก็บรวบรวมอย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา:
1. http://www.gis2me.com/gis/chap04b.htm
2. www.gis2me.com/gis/chap04c.htm
3. หนังสือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการประเมินค่าทรัพยากรที่ดิน, ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ


world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Wednesday, 24 February 2010

เครื่องหมาย แผนที่

เครื่องหมายแผนที่
world

เครื่องหมายแผนที่ คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงความหมายของสิ่งต่างๆบนผิวพิภพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น เครื่องหมายที่ใช้แสดง นี้จะพยายามให้มีลักษณะเหมือนของจริงในลักษณะที่มองมาจากข้างบน ที่ขอบ ระวางแผนที่จะแสดงเครื่องหมายแผนที่ไว้ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่าแทนสิ่งใดในภูมิประเทศจริง นอกจากจะใช้เครื่องหมายแผนที่แทนแล้ว ยังใช้สีประกอบเครื่องหมายเพื่อความสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้อีกด้วย สีที่ใช้แตกต่างกันออก ไปตามชนิดของรายละเอียดในภูมิประเทศแผนที่มาตรฐานของประเทศไทย มี 4 สี
1) สีดำ แทนรายละเอียดที่สำคัญทางวัฒนธรรม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
หมู่บ้าน ทางรถไฟ
2) สีน้ำเงิน แทนรายละเอียดที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง
3) สีน้ำตาล แทนรายละเอียดที่มีความสูงต่ำของผิวพิภพ เช่น เส้นชั้นความสูง ดินถม
4) สีเขียว แทนบริเวณที่เป็นป่าหรือพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ
5) สีแดง แทนถนนสายหลัก บางแห่งแสดงไว้ให้ทราบว่าเป็นพื้นที่หวงห้าม หรือมีอันตราย

มาตราส่วนของแผนที่
มาตราส่วนของแผนที่ คือ อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะในภูมิประเทศ หรือ คือความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศ
การเขียนมาตราส่วน เขียนได้หลายวิธี เช่น 1
50,000
หรือ 1/50,000 หรือ 1:5,000
การคำนวณระยะทางบนแผนที่
คำนวณได้จากสูตร : มาตราส่วนของแผนที่ = ระยะบนแผนที่
ระยะในภูมิประเทศ


ระบบพิกัดใช้บนแผนที่
world

ระบบพิกัด (Coordinate System) เป็นระบบที่สร้างขึ้นสำหรับใช้อ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง หรือ บอกตำแหน่งพื้นโลกจากแผนที่มีลักษณ์เป็นตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้นตรงสองชุดที่ถูกกำหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก- ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กำเนิด (Origin) ที่กำหนดขึ้น ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กำเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตำแหน่งของตำบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัด

สำหรับระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกำหนดตำแหน่งบนแผนที่ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2) ระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) ในที่นี้จะพูดถึง พิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transvers Mercator) ซึ่งใช้กับแผนที่ภูมิประเทศชุด L 7017 ของกรมแผนที่ทหาร

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)
world

เป็นระบบพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างบนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตำแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และ ลองกิจูด (Latitude) ตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กำเนิด (Origin) ของละติจูดและลองกิจูด ที่กำหนดขึ้นสำหรับศูนย์กำเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) นั้นกำหนดขึ้นจากแนวระดับ ที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กำเนิดนั้นว่า เส้นศูนย์สูตร (Equator) ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกำเนิดมุมที่เส้นศูนย์สูตร ที่วัดค่าของมุมออกไปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิง บอกตำแหน่งต่างๆ นอกจากจะกำหนดเรียกค่าวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา แล้วจะบอก ซีกโลกเหนือหรือใต้กำกับด้วยเสมอ เช่น ละติจูดที่ 30 องศา 00 ลิปดา 15 ฟิลิปดาเหนือ

ส่วนศูนย์กำหนดของลองกิจูด (Origin of Longitude) นั้น ก็กำหนดขึ้นจากแนวระนาบทางตั้งที่ผ่านแกนหมุนของโลกตรงบริเวณตำแหน่งบนพื้นโลกที่ผ่านหอดูดาว เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ เรียกศูนย์กำเนิดนี้ว่า เส้นเมริเดียนเริ่มแรก (Prime Meridian) เป็นเส้นที่แบ่งโลกออกเป็นซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออกค่าระยะเชิงของลองกิจูดเป็นค่าที่วัดมุมออกไปทางตะวันตก และตะวันออกของเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก วัดจากศูนย์กลางของโลกตามแนวระนาบ ที่มีเมอริเดิยนเริ่มแรกเป็นฐานกำเนิดมุมค่าของมุมจะสิ้นสุดที่เส้นเมอริเดียนตรงข้ามเส้นเมริเดียนเริ่มแรกมีค่าของมุมซีกโลกละ 180 องศา การใช้ค่าอ้างอิงบอกตำแหน่งก็เรียกกำหนดเช่นเดียวกับละติจูด แต่ต่างกันที่จะต้องบอกเป็นซีกโลกตะวันตก หรือตะวันออกแทน เช่น ลองกิจูดที่ 90 องศา 00 ลิปดา 00 ฟิลิปดาตะวันตก

025.jpg
แสดงระบบพิกัดภูมิศาสตร์


ระบบพิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator co-ordinate System)
พิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกำหนดตำแหน่งและใช้อ้างอิง ในการบอกตำแหน่ง ที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตาราง และมีวิธีการกำหนดบอกค่าพิกัดที่ง่ายและถูกต้องเป็นระบบกริดที่นำเอาเส้นโครงแผนที่แบบ Universal Transvers Mercator Projection ของ Gauss Krugger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection อยู่ในตำแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก) ประเทศไทยเราได้นำเอาเส้นโครงแผนที่แบบ UTM นี้มาใช้กับการทำแผนที่กิจการทหารภายในประเทศจากรูปถ่ายทางอากาศในปี 1953 ร่วมกับสหรัฐอเมริกา เป็นแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ชุด 708 และปรับปรุงใหม่เป็นชุด L 7017 ที่ใช้ในปัจจุบัน

แผนที่ระบบพิกัดกริด ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบ UTM เป็นระบบเส้นโครงชนิดหนึ่งที่ใช้ผิวรูปทรงกระบอกเป็นผิวแสดงเส้นเมริเดียน (หรือเส้นลองกิจูด) และเส้นละติจูดของโลก โดยใช้ทรงกระบอกตัดโลกระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ และ 80 องศาใต้ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอก ทำมุมกับแกนโลก 90 องศารอบโลก แบ่งออกเป็น 60 โซนๆ ละ 6 องศา โซนที่ 1 อยู่ระหว่าง 180 องศา กับ 174 องศาตะวันตก และมีลองกิจูด 177 องศาตะวันตก เป็นเมริเดียนย่านกลาง (Central Meridian) มีเลขกำกับแต่ละโซนจาก 1 ถึง 60 โดยนับจากซ้าย ไปทางขวาระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ 80 องศาใต้ แบ่งออกเป็น 2 ช่อง ช่องละ 8 องศา ยกเว้นช่องสุดท้ายเป็น 12 องศา โดยเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไปทางเหนือ ให้ช่องแรกเป็นอักษร C และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X (ยกเว้น I และ O) จากการแบ่งตามที่กล่าวแล้วจะเห็นพื้นที่ในเขตลองกิจูด 180 องศาตะวันตก ถึง 180 องศาตะวันออก และละติจูด 80 องศาใต้ ถึง 84 องศาเหนือ จะถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,200 รูป แต่ละรูปมีขนาดกว้างยาว 6 องศา x 8 องศา จำนวน 1,140 รูป และกว้างยาว 6 องศา x 12 องศา จำนวน 60 รูป รูปสี่เหลี่ยมนี้เรียกว่า Grid Zone Designation (GZD) การเรียกชื่อ Grid Zone Designation ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ ระหว่างละติจูด 5 องศา 30 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ และลองกิจูดประมาณ 97 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ถึง 105 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ดังนั้น ประเทศไทยจึงตกอยู่ใน GZD 47N 47P 47Q 48N 48P และ 48Q การอ่านค่าพิกัดกริดเพื่อให้พิกัดค่ากริดในโซนหนึ่งๆ มีค่าเป็นบวกเสมอ จึงกำหนดให้มีศูนย์สมมุติขึ้น 2 แห่ง ดังนี้

- ในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร : เส้นศูนย์สูตรมีระยะห่างจากศูนย์สมมุติเท่ากับ 0 เมตร, และเส้นเมริเดียนย่านกลางห่างจากศูนย์สมมุติ 500,000 เมตร ทางตะวันออก

- ในบริเวณที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร : เส้นศูนย์สูตรมีระยะห่างจากศูนย์สมมุติไปทางเหนือ 10,000,000 เมตร และเมริเดียนย่านกลางห่างจากศูนย์สมมุติ 500,000 เมตร ทางตะวันออก

026_1.jpg
แสดงการแบ่งกริดโซนระบบพิกัดกริด UTM

การหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลก
การหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลกโดยการอ่านจากแผนที่ ที่นิยมใช้กันทั้งในงานแผนที่ทั่วไปและงานของ GIS&RS มี 2 แบบ คือ
1. พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
2. พิกัดกริด UTM (UTM Grid Coordinate)

พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate)
โดยที่เราต้องอ่านค่าของละติจูดและลองกิจูดตัดกัน ทั้ง 2 แกน มีหน่วยที่วัด เป็น

หน่วยวัด : 60 ฟิลิปดา = 1 ลิปดา
60 ลิปดา = 1 องศา
ตัวอย่าง (ดูรูปที่ 23 ประกอบ) เช่น การอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ที่มุมล่างซ้ายของแผนที่ (ตามลูกศรสีม่วง) ค่าที่อ่านได้ คือ

ละติจูดที่ 8 องศา 00 ลิปดา 00 ฟิลิปดา เหนือ
ลองกิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดา 00 ฟิลิปดา ตะวันออก

029.jpg
แสดงการหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลก

พิกัดกริด UTM (UTM Grid Coordinate)
ใช้บอกค่าเป็นตัวเลข โดยที่เราต้องอ่านค่าของเส้นกริดตั้ง (แกน X ทางตะวันออก) และ เส้นกริดราบ (แกน Y ทางเหนือ) ตัดกันทั้ง 2 แกน ที่เส้นกริดตั้งและราบมีตัวเลขตัวโต 2 ตัวกำกับไว้ทุกเส้น มีหน่วยที่วัดเป็น เมตร การหลักอ่านมีหลักดังนี้
1. ให้อ่านเพียงตัวเลขใหญ่ที่กำกับไว้ในแต่ละเส้นกริด
2. ให้อ่านตัวเลขใหญ่ประจำเส้นกริดตั้งก่อน เป็นการอ่านพิกัดที่เรียกว่า Read Right Up โดยอ่านจากซ้ายไปขวาก่อน แล้วอ่านตัวเลขใหญ่ประจำเส้นกริดราบ โดยอ่านจากข้างล่างขึ้นข้างบน
3. การอ่านตัวเลขจึงประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนแรก หรือ ครึ่งแรก เป็นตัวเลขอ่านไปทางขวา
ส่วนหลัง หรือ ครึ่งหลัง เป็นตัวเลขอ่านขึ้นข้างบน
Read Right Up
4. ถ้าอ่านเพียงจตุรัส 1,000 เมตร ตัวเลขจะประกอบด้วย 4 ตัว
100 เมตร ตัวเลขจะประกอบด้วย 6 ตัว
10 เมตร ตัวเลขจะประกอบด้วย 8 ตัว

ตัวอย่าง (ดูรูปที่ 23 ประกอบ) เช่น การอ่านค่าพิกัด UTM ของจุดตัดถนนในแผนที่ (ตามวงกลมสีแดง) ระดับ 100 เมตร ค่าที่อ่านได้ คือ

แกน X = 639200 ตะวันออก
แกน Y = 985150 เหนือ
** แผนที่ตัวอย่างที่นำมาใช้มาตราส่วน 1:50,000
- ตัวเลข 639 ของ แกน X และ 985 ของแกน Y คือ ตัวเลขประจำกริด ตัวเลขสีดำ
- ตัวเลข 200 ของ แกน X และ 150 ของแกน Y ได้ค่าโดยใช้ไม้บรรทัดวัดจากเส้นกริดมายังจุดตัดของถนน โดย
แกน X (ทางตะวันออก) วัดได้ 4 มิลลิเมตร ---> 4 x 50 = 200
แกน Y (ทางเหนือ) วัดได้ 3 มิลลิเมตร ---> 3 x 50 = 150
เนื่องจากระยะใน 1 ช่องจัตุรัส เท่า 1,000 เมตร และวัดได้เท่ากับ 20 มิลลิเมตร เพราะฉะนั้น 1 มิลลิเมตร เท่ากับ 50 เมตร(ในพื้นที่จริง)
*** ในการปฎิบัติงานจริงต้องใช้ไม้บรรทัดที่เป็นมาตรฐานในการวัด เพื่อจะได้ค่าที่เที่ยงตรง ***

world


อ้างอิง
ทวี ทองสว่าง (2533) การอ่านแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเกียรติ อัยสานนท์ ,พ.อ (2536) "การใช้แผนที่ภูมิประเทศและรูปถ่ายทางอากาศ" การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม.

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Sunday, 21 February 2010

แผนที่ และ องค์ประกอบ แผนที่ world

แผนที่ และ องค์ประกอบ แผนที่ world


ลักษณะทั่วไปของแผนที่มาตราฐานทุกชนิดที่จัดทำขึ้นมานั้น แม้จะมีลักษณะรายละเอียดที่ปรากฎในส่วนที่เป็นแผนที่ (Map Face) และขอบระวางแผนที่แตกต่างกันไปตามชนิด และวัตถุประสงค์ของแผนที่ แต่ในทำแผนที่ทุกชนิดนั้น จะมีหลักอยู่อย่างหนึ่ง คือ การให้รายละเอียดแสดงข้อมูลสำหรับการใช้แผนที่อธิบายบริเวณที่เป็นแผนที่ ไว้บริเวณระวางของแผ่นแผนที่เสมอ ถ้าผู้ใช้มีความเข้าใจรายละเอียดประจำขอบระวางของแผนที่มาตราฐูานแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจในแผนที่ชนิดอื่นๆได้ด้วย ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างรายละเอียดประจำขอบระวางที่ควรรู้ ของแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ที่นิยมในงาน Remote Sensing และ GIS ใช้ป็นแผนที่ฐาน (Base Map) สำหรับการอ้างอิง ดังนี้
1. ชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน (Series Name and Map Scale) คือ THAILAND ประเทศไทย 1:5,000 จะปรากฎอยู่มุมซ้ายด้านบนของแผนที่
010.jpg
แสดงชื่อชุดแผนที่และมาตราส่วน
2. หมายเลขประจำชุด (Series Number) เป็นเลขหมายอ้างอิงที่แสดงถึงการจัดทำแผนที่ว่าเป็นที่ชุดใด จะปรากฎอยู่มุมบนขวาและล่างซ้ายของแผนที่ ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข L 7017 มีความหมายดังนี้
L แทน Regional Area หรือ Sub-Regional Area จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ L เป็นภูมิภาคที่ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย จีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น
7 แทนมาตราส่วน (ระหว่าง 1:70,00 ถึง 1:35,000)
0 แทนบริเวณที่แบ่ง L เป็นภูมิภาคย่อย (Sub-Regional Area) คือบริเวณ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
17 แทนเลขลำดับที่การทำชุดแผนที่ที่มีมาตราส่วนเดียวกัน และ อยู่ในพื้นที่ภูมิภาค L เดียวกัน ประเทศไทย ตรงกับลำดับชุดที่ 17
011.jpg
แสดงหมายเลขประจำชุด
3. ชื่อแผ่นระวาง (Sheet Name) แผนที่แต่ละฉบับจะมีชื่อระวาง ซึ่งได้มาจากรายละเอียดที่เด่นหรือที่สำคัญทางภูมิศาสตร์ หรือสิ่งทิ่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ชื่อของจังหวัด อำเภอหมู่บ้านที่สำคัญ ชื่อระวางจะปรากฎอยู่ 2 แห่ง คือ กึ่งกลางระวางตอนบน และทางด้านซ้ายของขอบระวางตอนล่าง
012.jpg
แสดงชื่อแผ่นระวาง

4. หมายเลขแผ่นระวาง (Sheet Number) แผนที่ที่แต่ละระวางจะมีหมายเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามระบบที่วางไว้ เพื่อความสะดวกในการ อ้างอิงหรือค้นหา ตามปกติจะมีสารบัญแผนที่(Map Index) เพื่อการค้นหาหมายเลข แผ่นระวางนี้จะแสดงไว้ที่ขอบระวางมุมขวาตอนบน และมุมซ้ายตอนล่าง.
013.jpg
แสดงหมายเลขแผ่นระวาง

5. มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) แสดงไว้ที่กึ่งกลางระวางตอนล่าง และมุมซ้ายตอนบน มาตราส่วนแสดงไว้เพื่อให้ทราบอัตราส่วนระหว่างระยะในแผนที่กับระยะในภูมิประเทศที่ตรงกัน จะมีหน่วยวัดที่ต่าง ๆกัน เช่น ไมล์ เมตร หลา ไมล์ทะเล
014.jpg
แสดงมาตราส่วนแผนที่

6. คำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend) เป็นรายละเอียดที่อธิบายความหมายของสัญลักษณ์ (Symbol) ที่ใช้แสดงในแผนที่ เช่น ประเภทของเส้นถนน ซึ่งจะปรากฎที่มุมล่างด้านซ้ายของแผนที่
015.jpg
แสดงคำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend)

7. บันทึกต่าง ๆ (Note) คือ หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำแผนที่ มีดังนี้
ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร (Contour Interval 20 Meters) บอกให้ทราบว่าช่วงต่างระหว่างเส้นชั้นความสูงในแผนที่ระวางนี้เท่ากับ 20 เมตร กับมีเส้นชั้นแทรกชั้นละ 10 เมตร แสดงอยู่ที่ขอบระวางตอนล่าง
016.jpg
แสดงช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร

บันทึกการใช้ค่ารูปทรงสัณฐาน (Spheroid) บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้ใช้ค่าอิลปซอยด์ (Ellipsoid) ในการทำแผนที่ ซึ่งในแต่ละภูมิภาคของโลกจะใช้ค่าคำนวณต่างกัน เช่นทวีปอเมริกาเหนือ ใช้ Clarke Ellipsoid ปี ค.ศ. 1866 ส่วนประเทศไทยใช้ Everest Ellipsoid จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร

กริด (Grid) เป็นระบบอ้างอิงในทางราบ มีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสมุมฉาก บอกให้ทราบว่าเส้นกริด ซึ่งเป็นเส้นตรงสีดำทิ่ลากขนานกันบนแผนที่พร้อมทั้งมีตัวเลขกำกับนั้น มีระยะห่างกัน 1,000 เมตร และเส้นกริดในระบบ UTM (Universal Transvers Mercator) แผนที่วะวางนี้อยู่ในโชนที่เท่าไหร่ (เช่น โซนที่ 47. 48) จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์

เส้นโครงแผนที่ (Projection) บอกให้ทราบว่าแผนที่ L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 เส้นโครงแผนที่ชนิดทรานสเวอร์สเมอร์เคเตอว์ (Transvers Mercator)
จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์

บันทึกหลักฐานทางอ้างอิง (Datum Note) เป็นระบบหลักฐานที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดค่าทางแนวยืนและแนวนอน เพื่อใช้เป็นจุดบังคับทางความสูงและควบคุมตำแหน่งบนแผนที่

หลักฐานทางแนวยืน (Vertical Datum) บอกให้ทราบว่า ความสูงของภูมิประเทศในแผนที่แผ่นนี้อ้างอิง ระดับน้ำทะเลปานกลางที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

หลักฐานทางแนวนอน (Horizontal Datum) บอกให้ทราบว่าค่าพิกัดตามแนวนอนของแผนที่ระวางนี้ ยึดถือพิกัดของหมุดหลักฐานทางราบนั้นได้โยงยึดมาจากประเทศอินเดีย

กำหนดจุดควบคุมโดย ( Control By) บอกให้ทราบว่าการกำหนดวางหมุดหลักฐานกระทำโดยความควบคุมของกรมแผนที่ทหาร

สำรวจชื่อโดย (Names Data By) บอกให้ทราบว่าการสำรวจจำแนกชื่อรายละเอียดกระทำโดยกรมแผนที่ทหาร

แผนที่นี้จัดทำและพิมพ์โดย (Prepared and Printed By) บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้สำรวจและจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร

พิมพ์เมื่อ (Date) วัน เดือน ปี ที่จัดพิมพ์
017.jpg
แสดงหลักฐานข้อมูลที่ใช้ทำแผนที่

บันทึกเกี่ยวกับเส้นแบ่งอาณาเขต (Boundary Note)
DELINEATION OF INTERNATIONAL ADMINISTRATIVE BOUNDARIES ON APPROXIMA แนวแบ่งเขตการปกครองภายในประเทศในแผนที่นี้แสดงไว้โดยประมาณ
018.jpg
แสดงบันทึกเกี่ยวกับเส้นแบ่งอาณาเขต

หมายเหตุให้ผู้ใช้ทราบ (User Note) บอกให้ผู้ใช้ได้กรุณาแจ้งข้อแก้ไขและความเห็นในอันที่จะให้ประโยชน์ของแผนที่ระวางนี้ไปยังกรมแผนที่ทหาร จะปรากฎที่มุมขวาตอนล่างสุด

8. แผนผังและสารบัญต่าง (Diagram and Index) ดังนี้
แผนผังเดคลิเนชั่น หรือ มุมเยื้อง (Decclination Diagram) ปรากฎที่ขอบระวางตอนล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างทิศเหนือ 3 ทิศ คือ
ทิศเหนือจริง (True North) ใช้สัญลักษณ์ คือ ดาว
ทิศเหนือกริด (Grid North) ใช้สัญลักษณ์ คือ กริด หรือ GN
ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North) ใช้สัญลักษณ์ คือ ครึ่งลูกศร
019.jpg
แสดงทิศทาง

คำแนะนำเกี่ยวกับระดับความสูง (Elevation Guide) ปรากฎที่ขอบล่างด้านขวาใกล้กับสารบัญระวางติดต่อเป็นแผนผังแสดงระดับความสูงของพื้นที่ต่างๆในแผนที่ระวางนั้นโดยประมาณ โดยใช้ความแตกต่างความเข้มของสี เพื่อให้เห็นได้ง่ายว่าบริเวณใดมีความสูงที่สุด สูง ปานกลาง และต่ำ จากระดับน้ำทะเลมากหรือน้อย

สารบาญระวางติดต่อ (Adjoning Sheets) เป็นกรอบตารางสี่เหลี่ยมพร้อมทั้งหมายเลขกำกับ เพื่อแสดงให้ทราบถึงหมายเลขแผ่นระวางที่ติดต่อกับแผนที่ระวางนั้น
เพื่อความสะดวกในการค้นหาระวางแผนที่ใกล้เคียง

สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง (Boundaries) เป็นแผนผังแสดงการปกครองของประเทศ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
020.jpg
แสดงคำแนะนำเกี่ยวกับระดับความสูง สารบาญระวางติดต่อ สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง

9. ศัพทานุกรม (Grossary) แสดงอยู่ขอบขวาตอนล่าง บอกให้ทราบว่าแผนที่นี้ ได้จัดทำขึ้น 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำบางคำจำเป็นต้องให้ทับศัพท์ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบความหมายของคำทับศัพท์นั้น จึงได้ให้ความหมายไว้ด้วย
021.jpg
แสดงศัพทานุกรม

10. คำแน ะนำในการใช้ค่ากริด (Grid Reference Box) แสดงอยู่ที่กึ่งกลางด้านล่างของระวางบรรจุข้อความไว้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม เป็นคำแนะนำในการหาพิกัดกริดของจุดต่างๆ ในแผนที่ ดังรูป
022.jpg
แสดงคำแน ะนำในการใช้ค่ากริด

11. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์ (Stock NO.) แสดงที่ขอบระวางด้านล่างสุดทางมุมขวา แสดงหมายเลขอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งให้ทราบถืงชนิดของแผนที่ต่างๆ ในระบบการส่งกำลังและเพื่อความมุ่งหมายในการเบิกแผนที่
023.jpg

อานันต ์คำภีระ

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Thursday, 18 February 2010

ความรู้ พื้นฐาน เกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ โลก world

ความรู้ พื้นฐาน เกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ โลก  world
ลักษณะรูปทรงสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมแบบ Speriod แต่ในทางปฎิบัติเราถือว่าโลกมีลักษณะทรงกลมทางเรขาคณิต ดังนั้นระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของโลกจึงมีส่วนประกอบต่อไปนี้

1. เส้นวงกลมใหญ่ (Great Circle) คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม เรียกว่า"วงกลมใหญ่" ตัวอย่าง เช่น เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกัน เส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง

2. เส้นวงกลมเล็ก (Small Circle) คือ เส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม ตัวอย่าง เช่น เส้นขนาน

3. เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตก โดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออก ซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน

4. เส้นเมริเดียน (Meridians) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้ โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้

5. เส้นเมริเดียน ปฐม (Prime Meridian) คือ เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองกิจูด ซึ่งถูกกำหนดให้มีลองกิจูดเป็นศูนย์ ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติ ค.ศ. 1884 จะเรียกว่า เส้นเมริเดียนกรีนิช ก็ได้

6. เส้นขนาน (Parallels) คือ เส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตร หรือ วงกลมเล็ก

7. ละติจูด (Latitude) หรือ เส้นรุ้ง คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร นับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา

8. ลองกิจูด (Longitude) หรือ เส้นแวง คือ ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศา ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก 180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก

"รุ้งตะแคง แวงตั้ง" เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่า เส้นละติจูดและลองกิจูดคืออะไร มีลักษณะอย่างไร

9. เส้นโครงแผนที่ คือ ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้างรูปทรงเรขาคณิต และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ ซึ่งวิธีการนั้น เรียกว่าการฉายแผนที่ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิด คือ รูประนาบ (Plane) รูปทรงกรวย (Cone) และรูปทรงกระบอก (Cylinder) ในการฉายเส้นโครงแผนที่

10. โปรเจคชั่นของแผนที่ คือ ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels) ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน

11. ทิศเหนือจริง (True North) คือแนวที่นับจากตำบลใดๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่

12. ทิศเหนือกริด (แผนที่) (Grid North) คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่ ใช้สัญลักษณ์ GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมภาคของทิ

13. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North) คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ. ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอ ในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีก ทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง

14. อะซิมุท ( Azimuth)
เป็นวิธีการที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง คือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบกับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก

Monday, 15 February 2010

world thai

world thai

- Thai world thai googleearth
Thai world - ชุมชนคนเล่นกูเกิลเอิร์ธในไทย. ... ขอเชิญสมาชิกทุกท่าน เข้าร่วมใช้งานเว็บไซต์ Thai world Social Network ...
www.thaigoogleearth.com/index.php
ระบบภาษาไทยสำหรับ world
กูลเกิลเอิร์ท
Thai map
Download special map
Thai world thai googleearth

- Thai world thai googleearth
14 ก.ค. 2009 ... Thai world - ชุมชนคนเล่นกูเกิลเอิร์ธในไทย, จากการแนะนำของคุณ nicknant และ ไฟล์ รีจิสตรี้ ที่เขียนโดย.
www.thaigoogleearth.com/index.php?option=com_remository&Itemid=&func=fileinfo&id=141

- THAIWARE | world Thailand Placemark (รวมตำแหน่ง สถานที่ ...
Thaiware Software Info : ตัวเสริม สำหรับ world ที่ได้รวบรวมเอาสถานที่ท่องเที่ยว ของไทย ถนนหนทาง ห้างฯ เอาไว้มากที่สุด.
www.thaiware.com/main/info.php?id=7113

- Thai world Social Network
ส.อ.จุมพล หวังไรกลาง เข้าร่วม Thai world Social Network 36 นาทีมาแล้ว. ลุงหนาน เข้าร่วม Thai world Social Network 46 นาทีมาแล้ว ...
thaigoogleearth.ning.com

- Thailand Photo Map - Home
Thailand Photo Map - world. ... Using the free world program, students can explore places in Thailand that they probably haven't visited ...
www.thailandphotomap.com

- มีเว็บไหนให้โหลดThailand placemarkของworld - Pramool.com
5โพสต์ - โพสต์ครั้งล่าสุด: 18 ม.ค. 2006
world Thailand Placemark (รวมตำแหน่ง สถานที่ท่องเที่ยว, ห้าง, ร้านอาหาร ของประเทศไทย สำหรับ world) : ตัวนี้เป็นตัวเสริมสำหรับ ...
bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo=Z03758

- ThaiEarth.com
ติดตั้ง world เสร็จ เวลาใช้มีปัญหาจอค้างพิกเซลเปลี่ยน, 61898, 34069, เมื่อวันที่ ... [world Update] เกาะแสมสาร เห็นคลื่นพริ้วไหวเลยครับ, 54519 ...
www.thaiearth.com

- Download Program for Thai People
Name, world, <>. Size, 10.3MB. Company, www.google.com. Lastupdate, 1/8/2005. Download, 66483. Licensed, Freeware ...
www.thaiload.com/download.asp?id=682&gpid=6

- world thailand คลิกที่นี่ : Web Site Promotion | Link ...
เว็บไซต์เกี่ยวกับ world thailand คลิกที่นี่ |Link Directory world thailand, เว็บ world thailand ,โปรแกรม world thailand, ...
www.siamhrm.com/add-url/index.php?action=details&id=28193

- world Thailand - SkyscraperCity
20โพสต์ - โพสต์ครั้งล่าสุด: 8 ก.ย. 2005
world Thailand Thai Forum. ... they said that the goverment would send a request to world to reduce the detail of the images. ...
www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=253881

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Friday, 12 February 2010

MSN Virtual Earth

MSN Virtual Earth

รายงานข่าวล่าสุด ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการสำหรับบริการใหม่ MSN Virtual Earth ซึ่งเป็นบริการที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมผ่านทางเว็บไซต์ MSN โดยมีคุณสมบัติของการให้บริการที่ไม่ด้อยไปกว่า world



MSN Virtual Earth

ไมโครซอฟท์เปิดสมรภูมิรบใหม่สำหรับแผนที่ดิจิตอลกับทางกูเกิ้ลด้วยการเปิดบริการ MSN Virtual Earth ซึ่งสามารถรับชมแผนที่ในระดับลึกถึงซอกมุมตึกต่างๆ ตลอดจนบริเวณโดยรอบด้วยมุมมอง 45 องศา หรือการดูเส้นทางของถนนสายต่างๆ จากดาวเทียม อีกทั้งยังสามารถเพิ่มชั้นของข้อมูลอย่างเช่น ธุรกิจ ห้างร้าน ภัตตาคารที่อยู่ในละแวกนั้นๆ เข้าไปได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้บริการ MSN Virtual Earth ยังสามารถช่วยให้ข้อมูลชนิดต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในแผนที่เพิ่มเข้าไปได้ด้วย


MSN Virtual Earth

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กูเกิ้ลประกาศว่า ซอฟต์แวร์คีย์โฮลของทางบริษัทสามารถแสดงภาพถ่ายของโลกจากดาวเทียมได้ ทางกูเกิ้ลตั้งชื่อเป็น world โดยภาพถ่ายที่ชัดเจนจากดาวเทียมจะสามารถดูผ่านบริการ maps ได้ นอกจากนี้ maps ยังได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถมากยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้อีกด้วย



MSN Virtual Earth

ไมโครซอฟท์คาดว่า บริการใหม่นี้จะช่วยให้ MSN สามารถสู้รบปรบมือกับ Google ในสมรภูมิตลาดเดียวกันนี้ได้ ซึ่งทางด้าน Yahoo ก็กำลังดำเนินการจัดทำบริการแผนที่เช่นเดียวกัน


MSN Virtual Earth
ที่มา:กองบรรณาธิการเว็บไซต์ ARiP.co.th

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Tuesday, 9 February 2010

Thailand world Get Thailand world

world Explore, Search and Discover

Want to know more about a specific location? Dive right in -- world combines satellite imagery, maps and the power of Google Search to put the world's geographic information at your fingertips.



Thailand world



Thailand world Get Thailand world

http://www.tripsthailand.com/images/googleearth/tripsthailand.zip


world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Saturday, 6 February 2010

world Thailand

world Thailand

world Thailand Placemark Version History (ประวัติการพัฒนาโปรแกรมชุด Patch ตัวนี้) :

Version 7.0 Final Auto Update
- Experiment of Network link to this version. So from now on this placemarks will auto update via internet.
- Districts in central region added

Version 6.5
- More road added
- Districts in Northern added
- Districts in North - Eastern added
- Weather and Overlay removed (separate to other kmz file)

Version 6.0
- Lotus added
- Big C added
- Eastern Bangkok added
- Military removed

Version 5.0
- Restaurants added

Version 4.5
- Earth Quake added
- Military added
- Airports added
- Overlay added

Version 3.0 Changelog
- About 50 live traffic webcam added.
- Hospital layer added.
- Weather overlay added.

Version 2.0 Changelog
- Added west side of bangkok since google updated this area to hi-res
- Grouping type of places to layers

Version 1.0
- Some place i known

world Thailand

world Thailand Placemark (รวมตำแหน่ง สถานที่ท่องเที่ยว, ห้าง, ร้านอาหาร ของประเทศไทย สำหรับ world) : ตัวนี้เป็นตัวเสริมสำหรับ โปรแกรม world หรือ โปรแกรมดูภาพถ่ายจากดาวเทียมจริงๆ ของจริง ที่กำลังโด่งดังและขึ้นชื่อไปทั่วโลกในขณะนี้นะครับ โดยโปรแกรมชุดนี้ เอาไว้ใช้ร่วมกับโปรแกรม world เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเอาตัวนี้ไปลง จะต้องดาวน์โหลด โปรแกรม world ไปลงที่เครื่องเสียก่อนนะครับ ... สำหรับตัว Thailand Placemark นี้เป็นตัวที่เอาไว้ระบุตำแหน่งของถนนหนทาง, สถานที่ บันเทิงและท่องเที่ยว, ห้างสรรพสินค้า, โรงเรียน, สนามบิน, สวนสัตว์, สวนสนุก ฯลฯ อีกมากมายครับ เหมาะสำหรับท่านที่มีความรัก และชอบเล่น โปรแกรม world แต่ว่าไม่ชำนาญ หรือ เชี่ยวชาญ ทางด้านภูมิศาสตร์ ก็เอาตัวนี้ไปเล่นไปใช้ได้ครับ


ตัวเสริมหรือว่า Patch ชุดนี้นั้นพัฒนาขึ้นโดยฝีมือคนไทยครับ จากทีมงาน THAIGALAXY.COM โดยการให้เข้อมูลนั้น ละเอียดจนถึงขนาดสังเกตุห้างได้ถึงพวก บิ๊กซี, โลตัส เลยก็ว่าได้ครับ Patch ชุดนี้พัฒนาโดยคนไทยครับ วิธีการเล่นคือ ดาวน์โหลดลงไปแล้ว แตกไฟล์ (Unzip/ Extract) ไฟล์มันออกมา และก็กดที่ชื่อไฟล์ มันก็จะพร้อมเรียกใช้งาน โปรแกรม world ขึ้นมาให้ท่านทันทีครับ ใช้งานง่ายมากๆ ไม่ยากเลยละครับ และสุดท้ายขอบอกว่า ละเอียดมากๆ ครับละเอียดจริงๆ ขอปรบมือให้กับทีมงาน THAIGALAXY.COM เลยครับ ...

world Thailand
THAIGALAXY.COM

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Wednesday, 3 February 2010

นักเรียน ​ชั้นประถม​ 3 ​​ใช้​โปรแกรม​ world

The image “http://www.thailandphotomap.com/images/stories/f_01.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

The image “http://www.thailandphotomap.com/images/stories/f_02.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

นักเรียน จาก​ชั้นประถมศึกษาปีที่​ 3 ​ถึง​ 4 ​ได้​เริ่ม​ใช้​โปรแกรม​ world ​เพื่อศึกษาสถานที่ต่างๆ​ใน​จังหวัด​และ​ประ​เทศของตัวเอง​ ใน​ช่วงเริ่มต้น​นั้น​นักเรียน​จะ​ได้​รับชม​และ​ได้​ รับการทดสอบสถานที่ต่างๆ​จาก​บนอากาศ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​วัด​และ​ท่าอากาศยาน​ ใน​ช่วงต่อมานักเรียน​จะ​สามารถ​บ่งบอกสถานที่สำ​คัญต่างๆ​ใน​ จังหวัดสมุทรปราการ​และ​ประ​เทศไทย​ ใน​ชั่วโมงเรียนนี้ๆ​นั้น​ได้​รับการส่งเสิรมการสอน​โดย​ผ่านทางเวปไซต์​ www.thailandphotomap.com ​ซึ่ง​ใน​เวปไซต์นี้​นั้น​จะ​เปิด​ให้​กับ​โรงเรียน​อื่น​ได้​รับชม​และ​นำ​ไปประยุคต์​ใช้​ได้

Students from Primary 3 and 4 have just started to use the free world program to learn about their province and country. For the introductory lessons, the students are learning to recognize objects such as airports and temples from space. In later lessons, the students have to identify famous places in Samut Prakan and the rest of Thailand.

thailandphotomap.com

world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia

Monday, 1 February 2010

วิธีการป้อนพิกัดเข้าสู่ world

ขอเพียงให้เราใส่ Delimiter (ในที่นี้ได้แก่ Space หรือเว้นวรรค) ให้ได้จังหวะจะโคนตามที่ world ต้องการ ... อีกทั้ง Datum ของพิกัดที่ป้อน จะต้องเป็น WGS 84 เท่านั้น world ก็จะสามารถแสดงตำแหน่งของพิกัดที่ป้อนได้

ทุกพิกัดของตัวอย่างข้างล่างนี้ เป็นตำแหน่งของตึก "สาทรนคร" อันเป็นที่ตั้งของ ESRI ซึ่งอยู่ชั้น 22 … Datum : WGS 84 -
  • พิกัดในรูปแบบ องศาและทศนิยมขององศา (hddd.ddddd°) เช่น
    N13.72300° E100.53022° ให้ป้อน N13.72300 E100.53022

  • พิกัดในรูปแบบ องศา ลิปดาและทศนิยมของลิปดา (hddd° mm.mmm') เช่น
    N13° 43.380’ E100° 31.813’ ให้ป้อน N13 43.380 E100 31.813

  • พิกัดในรูปแบบ องศา ลิปดา ฟิลิปดาและทศนิยมของฟิลิปดา (hddd° mm' ss.s") เช่น
    N13° 43’ 22.8” E100° 31’ 48.8” ให้ป้อน N13 43 22.8 E100 31 48.8
ทุกพิกัดจะต้องมี h (Hemisphere - ซีกโลก : เหนือ ใต้ ออก ตก) กำกับไว้ข้างหน้า ... อักษร N หรือ S ... E หรือ W ที่ป้อน จะเป็นตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ ... อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้ " - " (ยัติภังค์ หรือ Hyphen) คั่นระหว่าง Lat กับ Lon ... ใช้ "เว้นวรรค" (เหมือนนายกฯคนก่อน) อย่างเดียวก็พอ

www.thaimtb.com


world, googleearth, download, street view, pro, maps, api, online, live, free, thailand, crack, program, point asia

------------------------------------------
world - แผนที่ กูเกิ้ล เอิร์ธ

world, googleearth, world download, world street view, world pro, world maps, world api, world online, world live, world free, world thailand, วิธีใช้ world, ดาวโหลด world, world crack, program world, point asia